
ฟุตบอลโลก หรือ “FIFA World Cup” เป็นการแข่งขันฟุตบอล
ระหว่างประเทศ โดยมีทีมชาติเข้าแข่งในกลุ่มสมาชิกสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า)
โดยการแข่งขัน จะถูกจัดขึ้นในทุก ๆ 4 ปี เริ่มต้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1930 ยกเว้นในปี ค.ศ. 1942 และ 1946 ที่งดเว้นไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
การแข่งขันฟุตบอลโลก ในยุคปัจจุบัน ประกอบด้วย 32 ทีม ซึ่งจะจัดขึ้นประมาณ 1 เดือน
ซึ่งการแข่งขันในรอบ 32 ทีมสุดท้าย นี้เรียกว่า “การแข่งขันฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย” ส่วนในรอบคัดเลือกที่แข่งขันก่อนหน้านั้น ในปัจจุบันจะต้องใช้เวลาร่วม 3 ปี เพื่อเพื่อคัดเอา 31 ชาติ จาก 5 ทวีปเข้าไปแข่งขัน โดยอีกหนึ่งทีมมาจากประเทศเจ้าภาพ
– ถ้วยบอลโลก
ถ้วยฟุตบอลโลก เป็นแรงบันดาลใจให้นักเตะทีมต่างๆต่อสู้เพื่อพิสูจน์ฝีมือและศักดิ์ศรีของ ประเทศ ถ้วยนี้มีน้ำหนักถึง 4,970 กรัม ทำด้วยทองแท้ 18 กะรัต สูง 36 เซนติเมตร เรียกว่า ถ้วยฟีฟ่าเวิลด์คัพ (FIFA World Cup Trophy)
ออกแบบโดยประติมากรรมชาวอิตาเลียน ซิลวิโอ กาซซานิ ก้า ในปีค.ศ. 1971 โดยเส้นของรูป ปั้นบิดขึ้นมาจากฐาน เป็นรูปนักกีฬาสองคนยืนหันหลังยกโลก ดูมีพลังคลื่อนไหวในตัวเพื่อเป็นจังหวะแห่งการฉลองชัยชนะ
ถ้วยเวิลด์คัพ ใบนี้เริ่มใช้ครั้งแรกในการแข่งขันปีค.ศ.1974 ที่ประเทศเยอรมนีเป็นเจ้าภาพ และเยอรมนีก็คว้าถ้วยใบนี้สำเร็จครอบครองไว้นาน 4 ปี แต่ ถ้วยฟีฟ่าไม่ได้เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง เพราะฟีฟ่า หรือสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ
ถือว่าถ้วยนี้จะต้องอยู่ถาวรกับฟีฟ่า ผู้ชนะจะได้รับถ้วยจำลองที่ทำจากทองผสม ส่วนที่ฐานซึ่งมีแหวนคาดสองเส้น มีพื้นที่ไว้สลักชื่อผู้ชนะ 17 ช่อง ซึ่งเมื่อถึงปีค.ศ.2038 ชื่อก็จะเต็มช่องเหล่านี้ จากนั้นจะทำอย่างไรต่อไป ฟีฟ่าก็คงต้องปรึกษากัน
สำหรับถ้วยเดิมชื่อ ถ้วยจูลส์ ริเมต์ ซึ่งเป็นชื่อของประธานฟีฟ่า ชาวฝรั่งเศสที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก ครั้งแรกสำเร็จในปีค.ศ.1930
ถ้วยแรกทำจากเงินและทองหนัก 3.8 กิโลกรัม สูง 38 เซนติเมตร ฐานทำด้วยหินล้ำค่าสีฟ้า หรือไพฑูรย์ (Lapislazule) เป็นรูปเทพธิดาแห่งชัยชนะ (Goddess of Victory) ตรงเหลี่ยม 4 ด้าน ของฐาน สลักชื่อประเทศที่ได้แชมป์ 9 ราย ชื่อนับตั้งแต่ปี 1930-1970
ถ้วยจูลส์ ริเมต์ หายไปถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกในปีค.ศ.1966 ช่วงที่อังกฤษได้แชมป์ มีคนมาพบว่าถูกฝังอยู่ที่ต้นไม้ต้นหนึ่ง โดยฝีมือเจ้าสุนัขตัวเล็กชื่อพิกเกิ้ลส์ แต่พอถ้วยมาหายจริงๆในปีค.ศ.1983 ช่วงบราซิลได้สิทธิครอบ ครองถ้วยนี้อย่างถาวร หลังจากคว้าแชมป์ 3 สมัยได้สำเร็จ โดยขโมยมือดีฉกถ้วยจากที่เก็บในนครริโอเดอจาเนโร และหลอมละลายไปแยกชิ้นส่วนไปหมดแล้ว ทางฟีฟ่าจึงจัดทำถ้วยใหม่ที่กล่าวถึงข้างบนนั่นเอง
ฟุตบอลโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ฟุตบอลโลก 1950 จัดขึ้นที่ประเทศบราซิล เป็นครั้งแรกที่สหราชอาณาจักรเข้าร่วมการแข่งขัน ทีมสหราชอาณาจักรถอนตัวจากฟีฟ่าในปี ค.ศ. 1920 ที่ไม่พอใจในบางส่วนที่ต้องเล่นกับประเทศที่พวกเขาทำสงครามด้วย และบางส่วนเพื่อประท้วงด้านอิทธิพลและการบังคับจากต่างชาติ แต่ก็กลับเข้ามาร่วมในปี ค.ศ. 1946
หลังจากได้รับคำเชื้อเชิญจากฟีฟ่าการแข่งขัน ทีมแชมเปียนอย่างอุรุกวัยก็กลับเข้ามาร่วม หลังจากที่คว่ำบาตรฟุตบอลโลกก่อนหน้านี้ 2 ครั้ง โดยทีมอุรุกวัยชนะในการแข่งขันอีกครั้ง หลังจากที่ชนะประเทศเจ้าภาพบราซิล นัดการแข่งขันนี้เรียกว่า “มารากานาซู” (โปรตุเกส: Maracanaço)
ในการแข่งขันระหว่างปี ค.ศ. 1934 และ 1978 มีทีมเข้าร่วมแข่งขัน 16 ทีม ยกเว้นในปี ค.ศ. 1938 เมื่อออสเตรียรวมเข้ากับเยอรมนี หลังจากรอบคัดเลือก ทำให้มีทีมแข่งขันเหลือเพียง 15 ทีม และในปี ค.ศ. 1950 เมื่ออินเดีย สก็อตแลนด์ และตุรกี
ถอนตัวจากการแข่งขัน ทำให้มีทีมร่วมแข่งขันเพียง 13 ทีม ทีมที่เข้าร่วมแข่งขันส่วนใหญ่เป็นทีมจากยุโรปและอเมริกาใต้ มีส่วนน้อยจากอเมริกาเหนือ แอฟริกา เอเชียและโอเชียเนีย
ทีมเหล่านี้มักจะแพ้อย่างง่ายดายกับทีมจากยุโรปและอเมริกาใต้ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1982 มีทีมนอกเหนือจากยุโรปและอเมริกาใต้ที่เข้าสอบรอบสุดท้าย คือ ทีมสหรัฐอเมริกา เข้ารอบรองชนะเลิศในปี ค.ศ. 1930, ทีมคิวบาเข้ารอบรองชนะเลิศใน ปี ค.ศ. 1938, ทีมเกาหลีเหนือ เข้าสู่รอบรองชนะเลิศในปี ค.ศ. 1966 และทีมเม็กซิโกเข้าสู่รอบรองชนะเลิศในปี ค.ศ. 1970 ฟาน ไดค์-โกเมซ

สรุปทำเนียบแชมป์ฟุตบอลโลก
ค.ศ.
แชมป์ฟุตบอลโลก
1930 อุรุกวัย
1934 อิตาลี
1938 อิตาลี
1950 อุรุกวัย
1954 เยอรมนีตะวันตก
1958 บราซิล
1962 บราซิล
1966 อังกฤษ
1970 บราซิล
1974 เยอรมนีตะวันตก
1978 อาร์เจนตินา
1982 อิตาลี
1986 อาร์เจนตินา
1990 เยอรมนีตะวันตก
1994 บราซิล
1998 ฝรั่งเศส
2002 บราซิล
2006 อิตาลี
2010 สเปน
2014 เยอรมนี
2018 ฝรั่งเศส
จำนวนชาติที่ได้แชมป์ฟุตบอลโลก
บราซิล 5 สมัย (1958, 1962, 1970, 1994, 2002)
เยอรมนี 4 สมัย (1954, 1974, 1990, 2014)
อิตาลี 4 สมัย (1934, 1938, 1982, 2006)
อุรุกวัย 2 สมัย (1930, 1950)
อาร์เจนตินา 2 สมัย (1978, 1986)
อังกฤษ 1 สมัย (1966)
ฝรั่งเศส 2 สมัย (1998, 2018)
สเปน 1 สมัย (2010)